ดูบทความเถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

เป็นไม้เถาขนาดใหญ่พาดพันต้นไม้อื่น เถาใหญ่มักจะบิด

ใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่กลับ ผิวเรียบมันเขียว

ขอบเรียบปลายแหลมน้อยๆ ดอกเล็กเป็นช่อพวงระย้า สีขาวดก

ฝักแบนยาว ออกเป็นพวง เนื้อไม้มีวงสีเข้ม มีสองชนิดคือ ชนิดแดง

เนื้อสีแดง วงสีแดงเข้ม ชนิดขาว เนื้อออกสีน้ำตาลอ่อนๆ

วงสีน้ำตาลไหม้

สรรพคุณ เหมือนกันทั้งสองชนิด หมอยาพื้นบ้านนิยมใช้ชนิดขาว

ชนิดแดงหายาก

เถา รสเฝื่อนเอียน ต้มรับประทานถ่ายเส้นถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอด ถ่ายเสมหะไม่ถ่ายอุจจาระ จึง เหมาะที่จะใช้ในโรคบิด ไอ หวัด

ใช้ในเด็กได้ดี ทำให้เส้นเอ็นอ่อนลง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ คั่วให้หอม ชงกินแทนน้ำชา แก้เส้นเอ็นพิการ

แก้เมื่อยขบตามร่างกาย บางท่านกล่าวว่าทำให้ แข็งแรง กำลังดีสู้ไม่ถอย แก้กระษัยเหน็บชา

ราก รสเฝื่อนเมา ใช้เบื่อปลา เป็นยาอายุวัฒนะ ขับปัสสาวะ

28 มีนาคม 2559

ผู้ชม 2441 ครั้ง