10 พฤศจิกายน 2566
ผู้ชม 230 ผู้ชม
ส่วนประกอบ ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ(R.F.I)
ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วย ขมิ้นผง 120 มก. ผงขิง 120 มก.ผงกล้วย 50 มก. กระพังโหม 50 มก.และส่วนสำคัญอื่นอีก
-โดยขมิ้นชัน มีคุณสมบัติ รักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ โรคกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ท้องร่วง เป็นบิด
- ขิง มีคุณสมบัติ ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน สาระสำคัญของขิงมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะอาหารและลำไส้
- ผงกล้วย มีคุณสมบัติ แก้ท้องร่วง ช่วยสมานแผลในลำไส้และกระเพาะอาหาร คุมธาตุ
- ส่วนประกอบอื่น เช่น มะตูม ช่วยขับลมแก้โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ข้อบ่งใช้
ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ(R.F.I)) ใช้สำหรับบรรเทาอาการแสบร้อนบริเวณยอดอก อาหารไม่ย่อยอันเกิดจากภาวะน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร(Reflux) หรือหลอดอาหารอักเสบ เรียกว่า กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease:GERD)
อาการกรดไหลย้อน
- มักแสบร้อนหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากเมื่อรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก การนอนหงาย
- มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
- ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
- เจ็บหน้าอก จุก คล้ายมีอะไรมาขวางคอ
- เกิด หอบ หืด ไอแห้ง เสียงแหบ เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงอักเสบ
สาเหตุ
- จากความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหาร ที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารที่มีความดันหูรูดต่ำ หรือเปิดบ่อยกว่าปกติ ซึ่งมีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาหอบหืด
- ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูง ช็อกโกแลต จะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง *(ข้อมูลจากเว็บไซด์ รพ.บำรุงราษฎร์)
ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ(R.F.I) ใช้บรรเทาอาการ แน่นท้อง จุกเสียด อันเกิดจากการมีลมในทางเดินอาหารมากไป หรือร่างกายบางคนอาจสร้างก๊าซมากกว่าคนอื่นๆ หรือเกิดจาก อาการอาหารไม่ย่อย หรือ มีเชื้อแบคทีเรียในลำไส้มากไป หรือลำไส้เคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ กินอาหารมันๆมาก กินอาหารมีกากมาก หรือลำไส้ไวต่อการกระตุ้น ทำให้เกิดการเกร็งลำไส้ spasm หรือบางคนพยายามที่จะเรอเอาลมออก แต่การกระทำดังกล่าวกลับทำให้ลมเพิ่มมากขึ้นทำให้แน่นท้อง หรือเกิดจากการสะสมก๊าซในลำไส้ใหญ่ข้างซ้าย จึงทำให้เกิดการปวดท้องเหมือนกับโรคหัวใจ หรือการดื่มน้ำอัดลมปริมาณมากๆ
ขนาดรับประทาน
เด็กอายุมากกว่า 12 ปี ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ รับประทานครั้งละ 2-3 แคปซูล วันละ 3 เวลา หลังอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น หากมีอาการมากหรือเรื้อรังมานาน ควรรับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 เวลา หลังอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น-ก่อนนอน หรือ ตามแพทย์สั่ง
การรับประทานยาที่ถูกต้อง
-อาการลมจุกเสียด แน่นในท้อง ทานทันทีที่มีอาการ
-หากต้องการให้ช่วยย่อยอาหาร ทานทันทีหลังเสร็จมื้ออาหาร
- อาการกรดไหลย้อน ให้ฉีกแคปซูลยา 2-3 แคปซูล ละลายยาผง ในน้ำอุ่น คนให้เข้ากันแล้วดื่ม จะเห็นผลภายใน20-30 นาที
-กรณีเป็นแผลในกระเพาะ หรือ ลำไส้เรื้อรัง ทานครั้งละ 2-3 แคปซูล 4 เวลา ทานติดต่อกันอย่างน้อย15 วัน ร่วมกับ การงด ชา/กาแฟ/ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ /และอาหาร รสเผ็ด ร้อนทุกชนิด จึงจะเห็นผล
อาการข้างเคียง
อาจมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน หรือ เรอมีกลิ่นมะตูมอ่อนๆ และอาจมีอาการท้องผูกบ้างเนื่องจากมีส่วนผสมของ ผงกล้วย
คำเตือน
1.ห้ามรับประทานในคนที่แพ้ส่วนประกอบของยานี้
2.อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกบ้างในบางราย ในระยะแรกๆ
3.เด็กต่ำกว่า 6 ขวบ และสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน
4.หากเกิดอาการผื่นแดง ระคายเคือง บวม ให้หยุดรับประทานและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ทันที
การเก็บรักษา
เก็บให้พ้นจากมือเด็ก เก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส ห้ามใช้ ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ(R.F.I) หลังวันหมดอายุ (ดู Exp. วัน/เดือน/ปี)
คำแนะนำ
โรคกรดไหลย้อน จุกเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก สามารถรักษาได้ โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ดังนี้
- ระวังน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป หรือ อ้วน
- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม อาหารเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแลต
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา การสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นในปริมาณมาก ที่สำคัญไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรให้เวลาผ่านไปอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูป หรือรัดเข็มขัดแน่นเกินไป
- ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อย แต่บ่อยครั้ง
- ควรปรับหมอน หรือ ท่านอนที่ทำให้ศีรษะสูงขึ้นอย่างน้อย 6 นิ้ว
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยง ความเครียด
แนวทางในการรักษา
-การใช้ยารับประทาน เช่น ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ(R.F.I) ยาลดกรด ลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร
-การผ่าตัด กรณีที่ผู้ป่วยรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล *(ข้อมูลจากเว็บไซด์ รพ.บำรุงราษฎร์)